เวฬุรีย์ ทองคำ
เนื่องจากเหตุผลสามประการคือ ธุรกิจยานยนต์กำลังมาถึงจุดอิ่มตัว ธุรกิจการพิมพ์ที่กำลังลดลง และอุตสาหกรรมจอภาพ LCD กำลังเดินทางมาถึงขอบสุดของนวัตกรรม ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุให้วงการเครื่องกลขนาดจิ๋วกำลังดิ้นรนหาทางออก อย่างไรก็ตามความน่าสนใจเกี่ยวกับตลาดในปัจจุบันไม่ได้เกิดจากการบุกทะลักของเครื่องกลจิ๋วชนิดใหม่ ๆ อย่างแต่ก่อน แต่กลับกลายเป็นการประยุกต์ใช้เครื่องกลเหล่านี้ในแนวทางใหม่ ๆ ต่างหากที่เป็นเรื่องน่าสนใจ หรือยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานไปพร้อม ๆ กับปริมาณการผลิตก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามอง
เริ่มกันที่เซนเซอร์สำหรับตรวจวัดความดัน ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมเครื่องกลขนาดจิ๋วในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ และการวัดความดันเลือด ในปี 2007 เครื่องกลขนาดจิ๋วที่ใช้ตรวจวัดความดัน(เพื่อการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น) มีรายได้เกือบ 40 % จากรายได้ของตลาดเครื่องกลจิ๋วทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่าถึง 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่สิ่งที่น่าประทับใจและแปลกใหม่ยิ่งกว่านั้นคือ คือการกลับมาทำกำไรในตลาดของเซนเซอร์วัดความดันในแง่การแพทย์ เช่นอุปกรณ์ตรวจวัดการทำงานของหัวใจขนาดจิ๋วที่สามารถฝังในร่างกาย เพื่อตรวจวัดการทำงานของหัวใจซึ่งเป็นเรื่องที่น่าทึ่งอย่างมาก นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดียวกันนี้ยังได้ถูกพัฒนาเพื่อใช้งานอื่น ๆ รวมทั้ง การตรวจและรายงานผลเมื่อความเลือดในร่างกายมีค่าสูง ซึ่งจัดเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ภาพคอนเทคเลนส์ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ฝังอยู่ภายใน
อีกความสามารถในการใช้งานที่กำลังอุบัติใหม่ของเซนเซอร์วัดความดันคือ แผ่นแปะทางการแพทย์ ในอดีตวิศวกรคาดไม่ถึงว่าจะประยุกต์เอาเซนเซอร์มาใช้บนพลาสเตอร์ติดแผลได้อย่างไรดี แต่ผลงานจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเซนเซอร์เพื่อการใช้งานประเภทนี้ โดยงานวิจัยชิ้นแรกจาก IMEC เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจโดยทำจากผ้า ผสมกับโพลิเมอร์ที่โค้งงอได้ และเชื่อมกันอุปกรณ์ตัววัดซึ่งอุปกรณ์นี้สามารถแนบไปตามส่วนโค้งของร่างกายทำให้ผู้ใส่ไม่รู้สึกอึดอัด และสามารถตรวจวัดการทำงานของหัวใจในชีวิตประจำวันได้ และนวัตกรรมอีกชิ้นคือ อุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาให้ใช้พลังงานจากความร้อนที่เกิดขึ้นในร่างกาย และพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยอุณภูมิที่กระจายออกมาบริเวณที่อุปกรณ์แปะอยู่ จะถูกตรวจจับด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิขนาดจิ๋ว ซึ่งจะทำงานร่วมกับเซลล์แสงอาทิตย์ ส่วนระบบหลักในการเก็บและประมวลผลนั้นมีหน้าตาเหมือนกับ เฮดโฟน ทำหน้าที่บันทึกการทำงานของสมอง ตรวจความสมดุลของสมองทั้งสองซีก และ ตัวความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสมอง



Gyro sensors ซึ่งเป็นเซนเซอร์ที่ทำหน้าที่ความคุมความเสถียรได้เปิดตลาดและทำกำไรอย่างมากเมื่อหลายปีก่อนโดยใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้รถยนต์ขณะเคลื่อนที่ แต่ปัจจุบันผลกระทบจากการขายรถยนต์ที่ลดลง รวมถึงตลาดที่กำลังจะอิ่มตัว ตลาดผู้สูงอายุดูจะเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจ การสร้างอุปกรณ์เลียนแบบกระดูกภายนอกร่างกายเป็นเทคโนโลยีที่น่าจะช่วยกระตุ้นตลาดสำหรับผู้สูงอายุ อุปกรณ์ที่มองดูคล้ายกับเกราะหุ้มร่างกายจากภาพยนต์ชื่อดัง ไอรอน แมนของบริษัทฮอนด้า คือเครื่องสำหรับช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาในการเดิน แม้จะยังห่างไกลจากเสื้อเกราะอัจฉริยะในภาพยนต์ แต่ฮอนด้าได้ประดิษฐ์ เครื่องช่วยเดินจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ อาซิโม (ASIMO) โดยอุปกรณ์นี้จะได้รับข้อมูลจากเซนเซอร์ที่ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของสะโพก (Gyro sensors) เพื่อช่วยให้ผู้สวมใส่เดินได้สะดวกยิ่งขึ้น และมอเตอร์จะช่วยให้การเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่เป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ฮอนด้ากล่าวว่าอุปกรณ์ช่วยเดินนี้ได้แรงบันดาลใจมากจากผู้สูงอายุ และผู้ที่มีกล้ามเนื้อขาอ่อนแอ โดยอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นนี้เป็นเพียงอุปกรณ์ต้นแบบ อย่างไรก็ตามฮอนด้าคาดว่าเครื่องช่วยเดินนี้จะกลายเป็นสินค้าในท้องตลาดได้ในเวลาอันใกล้ โดยเฉพาะเมื่อมีหลายบริษัทเริ่มมีงานวิจัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ประเภทนี้แล้วเช่นเดียวกัน และอุปกรณ์นี้อาจจะช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตสามารถเดินได้อีกครั้ง ด้วยอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในโลก อุปกรณ์ช่วยเหลือการเดินที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถเดินได้อย่างอิสระ น่าจะเป็นตลาดที่มีอนาคตไกล และมีความต้องการสูง

ภาพเครื่องช่วยเดินของบริษัท ฮอนด้า

เครื่องกลขนาดจิ๋วกำลังเปลี่ยนแปลง
เมื่อพูดถึงเกี่ยวกับเฟือง และอุปกรณ์ขนาดจิ๋ว ลองมาดูกันว่ามีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับวัสดุที่จะช่วยเปิดประตูการประยุกต์ใช้งานของ เครื่องกลขนาดจิ๋วให้เติบโตต่อไป มีบริษัทจำนวนไม่มากที่ประสบความสำเร็จในการผลิตสวิทซ์ขนาดจิ๋วเพื่อการค้า มีเหตุผลหลายประการหนึ่งในเหตุผลเหล่านั้นคือวัสดุที่ถูกนำมาใช้ บางที ซิลิคอนอาจจะไม่ใช่คำตอบ เมื่อพลาสติกก็สามารถถูกนำมาใช้ได้
เมื่อกล่าวถึงอนุภาคนาโนราวกับว่าอนุภาคเหล่านี้เปรียบเสมือนสิ่งสำคัญในปี 2008 เมื่อมีการนำเอาอนุภาคนาโนหลายชนิดมาทดลองใช้ในการถ่ายภาพด้วยสนามแม่เหล็ก (MRI) โดยข้อดีของการใช้อนุภาคเหล่านี้คือทำให้แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้มาก่อน อย่างไรก็ตามเครื่องกลขนาดจิ๋วก็คงจะอยู่ในหนึ่งรายการที่อนุภาคนาโนจะเข้าไปมีเอี่ยวด้วยอย่างแน่นอน
หนึ่งในเครื่องกลขนาดจิ๋วที่กำลังอออกมาใหม่ ๆ นั้นน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว โดยนักวิจัยที่ NIST จากประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประดิษฐ์เครื่องกลขนาดจิ๋วที่เป็นแม่เหล็ก โดยมีรูปร่างเป็นท่อซึ่งสามารถสร้างสัญญาณคลื่นวิทยุได้ (RF signal) และสามารถสร้างภาพง่าย ๆ ได้โดยการให้น้ำเคลื่อนที่ผ่านโครงสร้าง หรือเคลื่อนที่รอบโครงสร้างแม่เหล็กขนาดจิ๋วเหล่านั้น ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือการที่สัญญานแม่เหล็ก สามารถเปลี่ยนเป็นสัญญานสีได้ สำหรับโครงสร้างของเครื่องกลแม่เหล็กจิ๋วนี้ประกอบด้วยแผ่นแม่เหล็กขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในระดับไมโครเมตรสองแผ่นเรียงกันในแนวตั้ง และแยกจากกันด้วยช่องว่างของอากาศ สนามแม่เหล็กของแผ่นแม่เหล็กขนาดจิ๋วนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยการปรับเปลี่ยนวัสดุ หรือการปรับระยะห่างระหว่างแผ่นแม่เหล็ก รวมถึงการเปลี่ยนความหนา และเส้นผ่านศูนย์กลางของแม่เหล็กอีกด้วย
จากเทคโนโลยีการเปลี่ยนสี กลับมาที่การพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทที่กำลังหาทางรอดในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ข่าวใหม่ในวงการอุตสาหกรรมเครื่องกลขนาดจิ๋ว ตั้งแต่เทคนิคการพิมพ์ แบบอิงค์เจ็ท ได้มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ ตอนนี้บริษัท มาซูชิตะ และ พรอคเตอร์ แอนด์ แกรมเบิล ได้พัฒนอุปกรณ์การพ่นด้วยไฟฟ้าสถิต(electrostatic spraying device) โดยนำมาใช้ในพ่นสีเครื่องสำอางลงบนใบหน้า ลองคิดภาพตลับขนาดเล็กที่สามารถเติมน้ำสีของเครื่องสำอาง เช่น รองพื้น อายชาโดว์ หรือลิปกลอสลงไปได้ จากนั้นนำไปใส่ลงในเครื่องปริ๊นขนาดจิ๋วที่มีขนาดใกล้เคียงกับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถที่จะพ่นสีเครื่องสำอางลงบนใบหน้าได้ ด้วยการทำงานที่คล้ายคลึงกับพู่กัน ที่นักแต่งหน้ามืออาชีพใช้งาน โดยให้ผลลัพท์ที่น่าทึ่งแม้ว่าจากการประเมินเบื้องต้นอาจจะยังมีข้อจำกัดราคาสูง แต่ตลับที่สามารถเปลี่ยนได้นั้นมีราคาที่ไม่แพง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะขายได้ถึงหนึ่งร้อยล้านชิ้น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคงจะหนีไม่พ้นธุรกิจแฟชั่น และกลุ่มผู้บริโภคที่ชอบความทันสมัย และการขยายตลาดการพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท จะมีส่วนช่วยทำให้ตลาดเครื่องกลขนาดจิ๋วประสบความสำเร็จในคราวเดียวกัน

เครื่องกลขนาดจิ๋วกำลังมองหาจุดแข็งสำหรับการแข่งขันในตลาด
สำหรับการใช้เครื่องกลขนาดจิ๋วในโทรศัพท์มือถืออาจจะดูเป็นไปได้ยาก เมื่อคิดถึงความจริงที่ว่าความสามารถใช้งานใหม่ๆ อาจจะยังไม่เพียงพอ และเซนเซอร์ในโทรศัพท์มือถือยังดูเป็นการสิ้นเปลืองที่ไม่จำเป็น แต่เมื่อปีที่ผ่านมาการใช้งานของเครื่องกลขนาดจิ๋วในโทรศัพท์มือถือได้ร่วมมือการใช้ ซอฟท์แวร์ฟรี และการใช้งานอื่น ๆ ซึ่งกระตุ้นให้ตลาดมีความหวือหวามากยิ่งขึ้น
ขณะนี้โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ได้มีการรวมเอาเซนเซอร์เป็นอุปกรณ์ภายในเอาไว้ด้วย เช่นเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ แม้อาจจะยังไม่สามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า โทรศัพท์มือถือจะช่วยทำให้ตลาดเครื่องกลขนาดจิ๋วเกิดการขยายตัว แต่การพัฒนาซอฟท์แวร์ ร่วมกับอุปกรณ์มือถือตัวอย่างเช่น บริษัทแอปเปิ้ลที่สามารถทำกำไรได้มากมายจากเซนเซอร์ ได้แสดงให้เห็นว่าอนาคตของเครื่องกลขนาดจิ๋วนั้นถูกขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาการใช้งานแบบใหม่ ๆ และกลไกแข่งขันของตลาดในอนาคต
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- http://dsc/discovery.com
- http://scoemce/nasa.gov
- http://www.smalltimes.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น